พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องกุมขมับ เมื่อจีนบุกตลาดออนไลน์

         ตลาด E-Commerce ร้อนเป็นไฟ  เมื่อเหล่าพ่อค้า แม่ค้าชาวจีน จูงมือกันเข้ามาเปิดร้านค้าในประไทย ทั้งยังมีเทคนิคการขาย สารพัดวิธี อย่างเช่น "ไลฟ์สดบนโลกออนไลน์" เปิดรับ ตัวแทนจำหน่าย และร่วมลงทุนกับคู่ค้าตลาดในไทย ทำสงครามราคา ขายต่ำกว่าต้นทุน อีกทั้งยังจัดส่งได้รวดเร็ว ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่ส่งจากจีน ใช้ระยะเวลาในการขนส่ง นานกว่า 7 วัน  นักธุรกิจจีนโชคดีอีกขั้น จากภาครัฐของไทย โดยไม่เก็บภาษีสินค้า ที่มาจากประเทศจีน ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี(FTA)
         เห็นได้ชัดเจนว่า โควิด 19 นั้น ส่งเสริมให้การตลาด E-Commerce ในประเทศไทยที่เติบโตมาสักระยะ แต่ยิ่งเพิ่มขึ้น แบบก้าวกระโดด จากมาตรการล็อคดาวน์ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดออนไลน์ ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่คือ ทางรอด ของผู้ประกอบการนั่นเอง ยังมีพฤติกรรมผู้บริโภค ที่หันมาช้อปออนไลน์เพิ่มขึ้น รวมทั้งผลักดันทางตลาด ผ่านกิจกรรม และโปรโมชั่นต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความต้องการซื้อ ให้ลูกค้าอยู่ทุกวัน


ตกที่นั่งลำบากสำหรับพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ชาวไทย

      เป็นกระแสที่พูดถึงกันอย่างหนาหู ในโลกเชียล เมื่อนักธุรกิจชาวจีน มาบุกตลาด  E-Commerce ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่ พ่อค้าแม่ค้า ก็สั่งสินค้าจากประเทศจีน มาขายด้วยราคาทุน และเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น บรรดาผู้ขายสินค้า จึงตกที่นั่งลำบาก เพราะต้องมาแข่งขัน ในเรื่องของราคา และการแย่งลูกค้าในตลาด แหล่งข่าวในธุรกิจ E-Commerce เปิดเผยต่อ "ประชาชาติธุรกิจ"ด้วยว่า ในเว็บไซต์ เถาเป่า(Taobao) ของจีน มีบริการรับเปิดร้าน, เปิดบัญชีธนาคาร และซิมมือถือ สำหรับลงขายบนแพลตฟอร์ม Shopee, Lazada ในประเทศไทยโดยเฉพาะ  ด้วยสาเหตุนี้ ชาวจีน จึงเข้ามาบุคตลาด ได้อย่างง่ายดาย

จีนขายราคาต่ำกว่าต้นทุน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ได้กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบัน มีผู้ค้าจากจีนมาเปิดร้านออนไลน์บนแพลตฟอร์มShopee  และ Lazada จำนวนมาก ขายราคาต่ำกว่าต้นทุน ส่งเร็ว โดยเข้ามาหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ ผ่านการสต๊อกสินค้า ในประเทศไทย ซึ่งหมายถึง เมื่อผู้ค้าจีนเปิดร้าน ก็สั่งสินค้ามาเก็บไว้ในแพลตฟอร์มดังกล่าว เมื่อมีการซื้อขาย ก็จัดส่งให้ลูกค้าทันที โดยที่ไม่ต้องเสียภาษี เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลดี ต่อผู้บริโภคอย่างมาก จาการที่มีตัวเลือกเพิ่มขึ้น และ ได้สินค้าราคาถูก ในขณะเดียวกัน เกิดผลเสีย กับผู้ประกอบกิจการในไทย เพราะไม่สามารถแข่งขันเรื่องราคาได้

     การแข่งขันด้านราคาดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ในไทย ไม่สามารถแข่งขัน ด้านราคาได้ สิ่งที่ผู้ประกอบการของไทย ต้องทำก็คือ แข่งด้านคุณภาพ  ด้านบริการ และความน่าเชื่อถือของร้าน อีกทั้งยังต้องสร้างแบรนด์ ที่มีความแตกต่าง เพิ่มมูลค่าให้สินค้า  ดีกว่าจะไปลดราคา แข่งกับพ่อค้าแม่ค้าชาวจีน   นายธนาวัฒน์กล่าวต่ออีกว่า ปัจจุบัน ยังไม่เห็น ผู้ค้าชาวจีน เข้ามาเปิดโกดังในไทยอย่างชัดเจน แต่มีแนวโน้มเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ในอนาคตอันใกล้นี้ จากการเปิดเขตปลอดภาษีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ในพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก(อีอีซี)  ทำให้จีน นำเข้าสินค้ามาพัก เพื่อรอ การจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ หากเมื่อถึงเวลาที่เข้ามาเปิดโกดังอย่างจริงจังในประเทศไทยแล้วละก็  การแข่งขันด้านราคา จะสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างทวีคูณ 


เมื่อมีเขตปลอดภาษีเหมือนกดผู้ประกอบการในประเทศ

      นายภาวุธ พงษ์วิทยาภานุ กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ การตลาดดอทคอม กล่าวกับ"ประชาชาติธุรกิจ" เรื่องการเปิดเขตปลอดอากร กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการสนันสนุน จากภาครัฐ เปรียบเหมือน การชักศึกเข้าบ้าน เนื่องจากมีประกาศ ของกรมศุลกากรที่ 204/2562 ว่า 1) กรณีใบขนสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ระบบจะเปลี่ยนสถานะเป็น “ใบขนสินค้ายกเว้นอากร” โดยอัตโนมัติ (2) กรณีใบขนสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ผู้ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตปลอดอากรไม่ต้องชำระค่าอากรจนกว่าจะครบกำหนด 14 วัน " ถือว่าสร้างความเสียเปรียบให้ผู้ประกอบในประเทศเป็นอย่างมาก  

      และนายภาวุธ ได้กล่าวแนะนำด้วยว่า ผู้ประกอบการไทย ต้องเร่งมือ ขยับตัว ด้วยการสร้างสตอรี่ และสร้างแบรนด์ ให้สินค้าตัวเอง มีคุณภาพ และความแตกต่าง จากเจ้าอื่นๆในตลาด รวมถึงการบริหารจัดการต้นทุนร้าน เพิ่มประสิทธิภาพทางการขาย ให้มากขึ้น จึงจะสามารถ แข่งขันในตลาดออนไลน์ได้

การถือหุ้นแทน เต็มประเทศ

ดร.ธีศานต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้ามาของผู้ค้าจีนมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่การจ้างคนไทยไลฟ์สดขายสินค้าผ่านหลายๆช่องทางออนไลน์  รวมถึงการหาตัวแทนจำหน่าย และส่งสินค้าให้แบบตัวแทนไม่ต้องสต๊อคสินค้า หรือถ้าหากเป็นระดับใหญ่ขึ้น ก็จะเป็นลักษณ์ร่วมกับคู่ค้าคนไทย ในการเปิดโกดังเพื่อนำเข้าสินค้า พีกสินค้า หากมีการซื้อขาย คนไทยก็จะบริหารจัดการให้ และแบ่งส่วนการขายให้แก่กัน  แต่ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบไหน ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ค้าในไทย เนื่องจากราคาต่ำ จึงสะท้อนให้เห็นสินค้าที่ขายดีในแพลตฟอร์มช้อบปิ้งขนาดใหญ่ เช่น หมวก กระเป๋า สินค้าแฟชั่นต่างๆ "หากเห็นโฆษณาที่มีการใช้ภาษาแปลกๆ สังเกตได้เลยว่าเป็นผู้ค้าจากจีนแน่นอน ซึ่งจีนเองก็มีความเชี่ยวชาญในการทำโฆษณาและขายสินค้าบนโลกออนไลน์อยู่แล้ว และไม่ได้ใส่ใจเรื่องคุณภาพสินค้า  

   อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ประกอบการชาวไทยหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาไม่ได้ แต่ก็มีหนทางสู้ในด้านคุณภาพสินค้า  ผู้บริโภคเอง ก็เรียนรู้การซื้อสินค้าและบริการบนโลกออนไลน์เพิ่ม ดังนั้นในอนาคต อาจจะมีทางออกที่ดี สำหรับพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย





       




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม